วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์

          วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ   วันที่  15  เดือน  กันยายน 2557

                 ชื่อ    นางสาววีนัส   ยอดแก้ว           กลุ่มเรียน  102      เวลา   14.10 น. - 16.40 น.



ความรู้ที่ได้รับ


สิ่งที่นำไปพัฒนา

        สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ทำให้เราเข้าใจเด็กมากขึ้นว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่จะได้เลือกจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก

การประเมินผล

        ตนเอง    : แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน จดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอนลงสมุด
        เพื่อน     : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
        อาจารย์  : อาจารย์มีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีการสอดแทรกวีดีโอลงในเนื้อหาบทเรียน ซึงทำให้นักศึกษาไม่เบื่อและให้ความสนใจในการเรียนมากขึ้น



บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์


          วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ   วันที่  8  เดือน  กันยายน 2557

                 ชื่อ    นางสาววีนัส   ยอดแก้ว           กลุ่มเรียน  102      เวลา   14.10 น. - 16.40 น.





ความรู้ที่ได้รับ


        อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเด็กพิเศษต่างๆ ตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับ แล้วให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน



                - สมองพิการ (Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้
                นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา  และโรคลมชัก เป็นต้น

            - โรคออทิสติก (Autistic Disorder) หรือ ออทิสซึม(Autism) เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะสังคม ทักษะทางภาษา และการสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย มีลักษณะพฤติกรรม กิจกรรม และความสนใจ เป็นแบบแผนซ้ำๆ ไม่ยืดหยุ่น ปัญหาดังกล่าวเป็นตั้งแต่เล็ก แสดงให้เห็นก่อนอายุ 3 ขวบ เป็นโรคที่รู้จักมาเป็นเวลา 60 ปีแล้ว นักวิชาการพยายามศึกษารายละเอียดต่างๆ ของโรค แต่ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้

                - ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome ) เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 ซึ่งสาเหตุของความผิดปกตินั้นยังไม่ทราบกลไกแน่ชัด เชื่อว่าสารพันธุกรรมของโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่เกินมานั้น ทำให้กระบวนการปกติที่ควบคุมการสร้างตัวอ่อนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทำให้เด็กเหล่านี้มีลักษณะหน้าตาคล้ายคลึงกัน เช่น ศีรษะเล็กและแบน หน้าแบน ดั้งจมูกแบน ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก ใบหูเล็ก คอสั้น มือแบนกว้าง
และที่สำคัญคือ เด็กกลุ่มนี้จะมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาร่วมด้วย ส่วนใหญ่มีระดับสติปัญญาในเกณฑ์บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง

                - เด็กสมาธิสั้น ( Attention Deficit Hyperactivity Disorder :ADHD ) เป็นลักษณะที่ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกลายเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเด็ก ประกอบ ด้วยปัญหาหลักใน 3 ด้านคือ
                1) สมาธิสั้น
                2) ซนอยู่ไม่นิ่ง
                3) หุนหันพลันแล่น
                เด็กมักจะทำอะไรได้ไม่นาน จะวอกแวก ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย ในเด็กเล็กจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นเด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด

                - เด็กแอลดี (LD : Learning Disability)   เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน  โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์ มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้น

                - เด็กปัญญาเลิศ  หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางปัญญาสูงกว่าเด็กทั่วไป และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีสมรรถนะในการคิด ประดิษฐ์ สรรค์สร้างสิ่งใหม่ๆให้แก่โลกมนุษย์


สิ่งที่นำไปพัฒนา

        ทำให้สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภทได้ ซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน การเขียนแผน และใช้ในการปรับพฤติกรรมของเด็กพิเศษให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น



การประเมินผล

        ตนเอง : ตรงต่อเวลา กล้าแสดงออกในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม
        เพื่อน   : ตั้งใจฟังที่เพื่อนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน

        อาจารย์  : อาจารย์จะให้คำแนะนำเพิ่มเติมจากสิ่งที่นักศึกษานำเสนอ ทำให้นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น










บันทึกอนุทินครั้งที่ 2-3

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์


     วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ   วันที่  25 สิงหาคม และ 1 กันยายน 2557

                 ชื่อ    นางสาววีนัส   ยอดแก้ว           กลุ่มเรียน  102      เวลา   14.10 น. - 16.40 น.

ความรู้ที่ได้รับ

   

                เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with Special Needs) หมายถึง ผู้ที่มีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเนื่องด้วยการขาดความสามารถไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา นอกจากนี้ยังหมายถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษทางด้านการศึกษา  ประเภทของความต้องการพิเศษมีความหลากหลายและอาจแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยผู้ที่เป็นโรคออทิซึม (Autism) กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) ความบกพร่องในการอ่าน (Dyslexia) ความบกพร่องทางการมองเห็น (Blindness) โรคสมาธิสั้น (ADHD) เหล่านี้ ล้วนได้รับการพิจารณาว่ามีความต้องการพิเศษ  อย่างไรก็ตามลักษณะของความต้องการพิเศษก็อาจครอบคลุมถึงโรคปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft lips and cleft palate) และแขนหรือขาด้วน (missing limbs)

สิงที่นำไปพัฒนา

        - นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
        - ใช้เป็นแนวทางในจัดทำแผนการสอน ให้เหมาะสมตามความต้องการของเด็ก
        - นำไปเป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม


การประเมินผล

        ตนเอง    : แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
        เพื่อน      : ส่วนใหญ่มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน แต่ก็มีบางคนที่แอบเล่นโทรศัพท์บ้าง
        อาจารย์  : อาจารย์มีการยกตัวอย่างประกอบการสอน มีการทบทวนบทเรียน ซึงทำให้นักศึกษามีความเข้าใจมากขึ้น





บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์

          วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ   วันที่  18  เดือน  สิงหาคม 2557

                 ชื่อ    นางสาววีนัส   ยอดแก้ว           กลุ่มเรียน  102      เวลา   14.10 น. - 16.40 น.



 ความรู้ที่ได้รับ 

      1. อาจารย์แนะแนวการสอนในรายวิชา

       คำอธิบายรายวิชา : ความหมาย ขอบเขต พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็กพิเศษระดับปฐมวัย สาเหตุของพฤติกรรมของเด็กพิเศญปฐมวัย จิตวิทยาพัฒนาการและจิตวิทยาการเรียนรู้ของเด็กพิเศญระดับปฐมวัย ประเภทของเด็กพิเศษ การปรับพฤติกรรม การเฝ้าระวังและการอบรมเลี้ยงดูเด็กพิเศษระดับปฐมวัย
     
        ผลลัพธ์การเรียนรู้ : หลังจากเรียนวิชานี้แล้ว ผู้เรียนมีพฤติกรรมดังนี้
     - ด้านคุณธรรม จริยธรรม : ตรงต่อเวลา ปฎิบัติตนได้สอดคล้องกับจรรยาบรรณครูปฐมวัย
     - ด้านความรู้ : มีความรู้เกี่ยวเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ จัดกิจกรรมได้เหมาะสมกับเด็ก  
     - ด้านทักษะทางปัญญา : คิดและวางแผนการทำงานได้อย่างเป็นระบบ
     - ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
     - ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
   
     2. อาจารย์ให้ทำกิจกรรมในชั้นเรียน โดยให้แบ่งกลุ่มและช่วยกันระดมความคิด บอกความหมายของเด็กพิเศษตามความเข้าใจของสมาชิกในกลุ่ม แล้วให้ออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน



   

 สิ่งที่นำไปพัฒนา 

      นำแนวทางที่อาจารย์ให้คำแนะนำไปปรับใช้ในการเรียน เพื่อให้ตรงตามเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของรายวิชา นอกจากนี้ยังได้รับความรู้เกี่ยวกับความหมายของเด็กพิเศษตามความคิดของเพื่อนแต่ละกลุ่ม ซึ่งสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้

 การประเมินผล 

      ตนเอง    : แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม
      เพื่อน     : แต่งกายเรียบร้อย มาตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
      อาจารย์  : อาจารย์คอยให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับเด็กพิเศษนอกเหนือจากที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอ ทำให้นักศึกษาได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น